ลักษณะการเพาะปลูก
1.ปลูกเป็นรั้ว ปกติจะใช้สับปะรดพันธุ์พื้นบ้านที่แข็งแรงทนทาน ใบมีหนามแหลม และให้ผลผลิตได้หลายปี
2.ปลูกเป็นแปลง เป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร
หากปลูกระยะ 30 เซนติเมตร ต้องรื้อปลูกใหม่ทุกปี
หากปลูกระยะ 50 เซนติเมตร 2-3 ปี จึงรื้อปลูกใหม่
3.ปลูกเป็นแปลงใหญ่ เพื่อการจำหน่ายจะรื้อปลูกใหม่ทุกปี หากปล่อยไว้ข้ามปี จะแน่นมาก และโคนลอย ผลผลิตมีขนาดเล็ก
การเตรียมดิน
ไถพรวนดินแล้วทำการเตรียมดินโดยการเตรียมดินจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ตามสภาพของพื้นที่ คือพื้นที่มีฝนตกชุก ถ้าไม่มีความลาดเอียงมากนักให้ทำเป็นแปลงขนาด กว้าง 1.20 เมตร ตามยาวขนาดพื้นที่ แปลงสูง 20-50 เซนติเมตร ระหว่าแปลง เว้นช่องทางเดิน 80-100 เซนติเมตร ถ้าพื้นที่มีความลาดเอียงมากกว่า 10% ไม่จำเป็นต้องทำเป็นแปลง เพียงแค่วัดระยะที่จะปลูก และระยะช่องทางเดินสำหรับการปฏิบัติงาน ใช้เชือกดึงเป็นแนวและปลูกตามแนวเชือกได้เลย ที่สำคัญต้องไม่ขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อป้องการน้ำขัง
การปลูก
1.ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ต้นฤดูฝนประมาณ 1-2 เดือน
2.ฉีดยากันเชื้อราที่หน่อพันธุ์
3.ปลูกแบบแถวคู่ แบบสลับฟันปลา โดยปลูกตามแนวเชือกที่ดึงเป็นแนวไว้ ระยะห่างระหว่างต้น 40-45 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50-60 เซนติเมตร โดยขุดหลุมลึก 3-4 นิ้ว ลอกใบล่างสุดออก 2-3 ใบ
4.นำหน่อพันธุ์ลงปลูก ให้เอียงเล้กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขังตรงส่วนยอด จากนั้นกดดินให้แน่นเพื่อป้องกกันต้นล้ม
การดูแลรักษา
1.ฉีดยาไฮวาเอ็กซ์(ปราบวัชพืช) + ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อาคาเฟริท สูตร 21-0-0 + อามีทรีน(ยาคุมหญ้า) + อาทราซีน(ยาคุมหญ้า) เมื่อหญ้าเริ่มขึ้น
2.ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หลังปลูกได้ 6-7 เดือนแรก และใส่หลังจากที่สับปะรดดอกแล้วเดือนละ 1 ครั้ง
3.ก่อนผลิตดอกออกผลให้ฮอร์โมนพืชด้วยเพื่อเร่งให่เกิดดอกและพ่นต่อไปจนกระทั่งติดผล
4.ตัดหญ้าและใบล่างๆ ออกบ้าง และปล่อยให้คุมดินลงไป จะช่วยกำจัดหญ้า รักษาความชื้น และเป็นปุ๋ยต่อไปในอนาคต
5.หยอดแก๊สที่ยอดสับปะรด ต้นละประมาณ 1 ช้อนชา เมื่อสับปะรดมีอายุได้ 6-8 เดือน
6.หลังจากสัปรดออกดอก ควรตัดแต่งใบล่างออกประมาณ 20% โดยเฉพาะบริเวณทางเดินเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
7.ตัดจุกสับปะรด เมื่อสับปะรดอายุได้ 1 เดือน เพื่อทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะสารอาหารจะไม่ถูกแบ่งไปเลี้ยงที่จุกแตะจะถูกลำเลียงขึ้นมาเลี้ยงที่ผลเพียงอย่างเดียว
8.ถ้าอากาศร้อน แสงแดดจัด ต้องห่อผล เพราะความร้อนของแสงแดดจะทำให้ผลมีความร้อน หยุดการเจริญเติบโต ผิงและเนื้อภายในผลไหม้ แกร็น เสียรูปทรง จำหน่ายไม่ได้ราคา ซึ่งการห่อผลจะต้องทำหลังจากตัดจุกแล้ว วิธีที่นิยมและได้ผลดีก็มีการใช้ใบห่อโดยการรวบใบรอบๆ ผล ประมาณ 8-10 ใบ ขึ้นมาห่อผล และใช้เชือกมัดปลายใบรวมกัน อีกวิธีหนึ่งก็คือ ใช้ฟางแห้ง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผล
การเก็บเกี่ยว
อายุที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวทั่วไปจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุได้ 120 วัน หลังออกดอก การเก็บเกี่ยวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.การเก็บเกี่ยวเพื่อการบริโภคสด ควรเก็บที่ความสุกของผลที่ 50-70% โดยสังเกตที่สีของเปลือก(ผลย่อย) จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง ตรงก้านผลจะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีน้ำตาล และเริ่มเหี่ยวเป็นร่องเล็กๆ ตามแนวยาว เห็นได้ชัดหรืออาจใช้นิ้วดีดเพื่อฟังเสียง โดยเสียงจัทุ้มและก้องกังวาลเล็กน้อย เหมือนมีน้ำและอากาศอยู่ภายในผล เสียงจะแตกต่างจากผลดิบอย่างชัดเจน การตัดควรตัดให้ห่างจากผลต่ำลงมาประมาณ 3-4 นิ้ว ควรระวังไม่ให้ก้านหัก เพราะจะทำให้การสุกของผลเร็วกวก่าปกติ เก็บได้ไม่นาน
2.การเก็บผลผลิตเพื่อส่งโรงงาน ควรเก็บที่ความสุก 30-40% โดยใช้มือหักผลออกจากต้น เพื่อไม่ให้ก้านติดมา กับผลและตัดจุกด้วยมีด ไม่ควรบิดจุก เพราะจะทำให้เกิดแผลลึกเข้าไปที่ผล ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเสียได้
หลังการเก็บเกี่ยว
กรณีที่จะไว้หน่อพันธุ์ให้ตัดต้นที่เก็บเกี่ยวไปแล้วเพื่อการแตกหน่อใหม่ และหน่อไม่หนาแน่นเกินไป
คุณประโยชน์ของสับปะรด
1.ผล เป็นอาหารสด ได้หลายแบบ
-เป็นอาหารหวาน (ผลไม้)
-เป็นเครื่องดื่ม
-เป็นอาหารคาว เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด น้ำยาขนมจีน ฯลฯ
2.ผลเนอาหารแปรรูป
-สับปะรดกระป๋อง
-น้ำสับปะรดกระป่อง
3.ใบใช้ทำเยื่อกระดาษ
4.ซาก ต้น ใบ เปลือกสับปะรด ใช้หมักเป็นปุ๋ยหรือเป็นอาหารสัตว์
1.ปลูกเป็นรั้ว ปกติจะใช้สับปะรดพันธุ์พื้นบ้านที่แข็งแรงทนทาน ใบมีหนามแหลม และให้ผลผลิตได้หลายปี
2.ปลูกเป็นแปลง เป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร
หากปลูกระยะ 30 เซนติเมตร ต้องรื้อปลูกใหม่ทุกปี
หากปลูกระยะ 50 เซนติเมตร 2-3 ปี จึงรื้อปลูกใหม่
3.ปลูกเป็นแปลงใหญ่ เพื่อการจำหน่ายจะรื้อปลูกใหม่ทุกปี หากปล่อยไว้ข้ามปี จะแน่นมาก และโคนลอย ผลผลิตมีขนาดเล็ก
การเตรียมดิน
ไถพรวนดินแล้วทำการเตรียมดินโดยการเตรียมดินจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ตามสภาพของพื้นที่ คือพื้นที่มีฝนตกชุก ถ้าไม่มีความลาดเอียงมากนักให้ทำเป็นแปลงขนาด กว้าง 1.20 เมตร ตามยาวขนาดพื้นที่ แปลงสูง 20-50 เซนติเมตร ระหว่าแปลง เว้นช่องทางเดิน 80-100 เซนติเมตร ถ้าพื้นที่มีความลาดเอียงมากกว่า 10% ไม่จำเป็นต้องทำเป็นแปลง เพียงแค่วัดระยะที่จะปลูก และระยะช่องทางเดินสำหรับการปฏิบัติงาน ใช้เชือกดึงเป็นแนวและปลูกตามแนวเชือกได้เลย ที่สำคัญต้องไม่ขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อป้องการน้ำขัง
การปลูก
1.ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ต้นฤดูฝนประมาณ 1-2 เดือน
2.ฉีดยากันเชื้อราที่หน่อพันธุ์
3.ปลูกแบบแถวคู่ แบบสลับฟันปลา โดยปลูกตามแนวเชือกที่ดึงเป็นแนวไว้ ระยะห่างระหว่างต้น 40-45 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50-60 เซนติเมตร โดยขุดหลุมลึก 3-4 นิ้ว ลอกใบล่างสุดออก 2-3 ใบ
4.นำหน่อพันธุ์ลงปลูก ให้เอียงเล้กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขังตรงส่วนยอด จากนั้นกดดินให้แน่นเพื่อป้องกกันต้นล้ม
การดูแลรักษา
1.ฉีดยาไฮวาเอ็กซ์(ปราบวัชพืช) + ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อาคาเฟริท สูตร 21-0-0 + อามีทรีน(ยาคุมหญ้า) + อาทราซีน(ยาคุมหญ้า) เมื่อหญ้าเริ่มขึ้น
2.ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หลังปลูกได้ 6-7 เดือนแรก และใส่หลังจากที่สับปะรดดอกแล้วเดือนละ 1 ครั้ง
3.ก่อนผลิตดอกออกผลให้ฮอร์โมนพืชด้วยเพื่อเร่งให่เกิดดอกและพ่นต่อไปจนกระทั่งติดผล
4.ตัดหญ้าและใบล่างๆ ออกบ้าง และปล่อยให้คุมดินลงไป จะช่วยกำจัดหญ้า รักษาความชื้น และเป็นปุ๋ยต่อไปในอนาคต
5.หยอดแก๊สที่ยอดสับปะรด ต้นละประมาณ 1 ช้อนชา เมื่อสับปะรดมีอายุได้ 6-8 เดือน
6.หลังจากสัปรดออกดอก ควรตัดแต่งใบล่างออกประมาณ 20% โดยเฉพาะบริเวณทางเดินเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
7.ตัดจุกสับปะรด เมื่อสับปะรดอายุได้ 1 เดือน เพื่อทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะสารอาหารจะไม่ถูกแบ่งไปเลี้ยงที่จุกแตะจะถูกลำเลียงขึ้นมาเลี้ยงที่ผลเพียงอย่างเดียว
8.ถ้าอากาศร้อน แสงแดดจัด ต้องห่อผล เพราะความร้อนของแสงแดดจะทำให้ผลมีความร้อน หยุดการเจริญเติบโต ผิงและเนื้อภายในผลไหม้ แกร็น เสียรูปทรง จำหน่ายไม่ได้ราคา ซึ่งการห่อผลจะต้องทำหลังจากตัดจุกแล้ว วิธีที่นิยมและได้ผลดีก็มีการใช้ใบห่อโดยการรวบใบรอบๆ ผล ประมาณ 8-10 ใบ ขึ้นมาห่อผล และใช้เชือกมัดปลายใบรวมกัน อีกวิธีหนึ่งก็คือ ใช้ฟางแห้ง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผล
การเก็บเกี่ยว
อายุที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวทั่วไปจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุได้ 120 วัน หลังออกดอก การเก็บเกี่ยวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.การเก็บเกี่ยวเพื่อการบริโภคสด ควรเก็บที่ความสุกของผลที่ 50-70% โดยสังเกตที่สีของเปลือก(ผลย่อย) จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง ตรงก้านผลจะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีน้ำตาล และเริ่มเหี่ยวเป็นร่องเล็กๆ ตามแนวยาว เห็นได้ชัดหรืออาจใช้นิ้วดีดเพื่อฟังเสียง โดยเสียงจัทุ้มและก้องกังวาลเล็กน้อย เหมือนมีน้ำและอากาศอยู่ภายในผล เสียงจะแตกต่างจากผลดิบอย่างชัดเจน การตัดควรตัดให้ห่างจากผลต่ำลงมาประมาณ 3-4 นิ้ว ควรระวังไม่ให้ก้านหัก เพราะจะทำให้การสุกของผลเร็วกวก่าปกติ เก็บได้ไม่นาน
2.การเก็บผลผลิตเพื่อส่งโรงงาน ควรเก็บที่ความสุก 30-40% โดยใช้มือหักผลออกจากต้น เพื่อไม่ให้ก้านติดมา กับผลและตัดจุกด้วยมีด ไม่ควรบิดจุก เพราะจะทำให้เกิดแผลลึกเข้าไปที่ผล ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเสียได้
หลังการเก็บเกี่ยว
กรณีที่จะไว้หน่อพันธุ์ให้ตัดต้นที่เก็บเกี่ยวไปแล้วเพื่อการแตกหน่อใหม่ และหน่อไม่หนาแน่นเกินไป
คุณประโยชน์ของสับปะรด
1.ผล เป็นอาหารสด ได้หลายแบบ
-เป็นอาหารหวาน (ผลไม้)
-เป็นเครื่องดื่ม
-เป็นอาหารคาว เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด น้ำยาขนมจีน ฯลฯ
2.ผลเนอาหารแปรรูป
-สับปะรดกระป๋อง
-น้ำสับปะรดกระป่อง
3.ใบใช้ทำเยื่อกระดาษ
4.ซาก ต้น ใบ เปลือกสับปะรด ใช้หมักเป็นปุ๋ยหรือเป็นอาหารสัตว์